บทที่ 1 อะตอมและตารางธาตุ

อะตอมและตาราธาตุ
อะตอม คืออนุภาคที่เล็กที่สุดของสารทุกชนิดไม่สามารถแบ่งแยกหรือทำให้สูญหายไปได้
แบบจำลอง คือ สิ่งที่คนสร้างขึ้นเพื่อจำลองสิ่งหนึ่งตามความคิดในการศึกษา
ทฤษฏีอะตอม คือข้อความจริงที่สามารถพิสูจน์หรืออธิบายได้
     แบบจำลองอะตอม มี 5 ทฤษฎี คือ

1.ดอลตัน


''อะตอมเป็นทรงกลม มีขนาดเล็กไม่สามารถแบ่งแยกหรือทำให้สูญหายได้''


2.ทอมสัน
   ได้ศึกษาการนำไฟฟ้าของหลอดรังสีแคโทด
''อะตอมประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน(+) และอิเล็กตรอน(-) อนุภาคทั้งสองกระจายอยู่ทั่วอะตอม''
อะตอมทุกชนิดมีอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบ
มิลลิแกนได้ทดลอง/คำนวนหาค่าประจุของอิเล็กตรอน
โกลด์ชไตน์เป็นผู้ค้นพบโปรตอน(+)โดยศึกษาการนำไฟฟ้าของหลอดรังสีแคโทดและเปลี่ยนชนิดของก๊าซที่บรรจุในหลอด

 3.รัทเทอร์ฟอร์ด
   ได้ศึกษาโดยการยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นคำบางๆ



''อะตอมประกิบด้วยนิวเคลียสอยู่ตรงกลางมีประจุไฟฟ้าบวกและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบๆ''


สรุป ;  บริเวณตรงกลางอะตอมน่าจะมีอนุภาคที่มีประจุบวก(+)และมีมวลสูงกว่าอนุภาคแอลฟา
***เซอร์ เจมส์ แชดวิกได้ค้นพบ อนุภาคนิวตรอน



การเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์
          AZX  :  เลขมวล คือผลบวกของโปรตอน และนิวตรอนในนิวเคลียส   
                          เลขอะตอม คือ จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส ซึ่ง =จำนวนอิเล็กตรอนในอะตอม

 ดังนั้น อะตอมของธาตุ Lithium  ( Li )     
มีจำนวนโปรตอน = 3 ตัว
  อิเล็กตรอน = 3 ตัว
    และนิวตรอน = 4 ตัว 
                    
 1. ไอโซโทป ( Isotope ) 
        หมายถึง  อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน มีเลขอะตอมเท่ากัน   แต่มีเลขมวลต่างกัน  
2. ไอโซบาร์ (  Isobar )  
       หมายถึง  อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน   แต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน
3. ไอโซโทน   ( Isotone ) 
      หมายถึง   อะตอมของธาตุต่างชนิดกันแต่มีจำนวนนิวตรอนเท่ากัน
4.  แบบจำลองอะตอมของนีลส์โบร์ 
      นักวิทยาศาสตร์จึงมีการศึกษาข้อมูลใหม่มาสร้างแบบจำลองที่เน้นรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเรียงอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียส โดยศึกษาจากสเปกตรัมและค่าพลังงานไอออไนเซชัน





สเปกตรัม
สเปกตรัมเป็นแสงที่ถูกแยกกระจายออกเป็นแถบสีต่าง ๆ และแสงเป็นรูปหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

แถบสีต่างๆในแถบสเปคตรัมของแสง


สเปกตรัมของธาตุ
 แมกซ์ พลังค์ได้เสนอทฤษฎีควอนตัม (quantum theory) และอธิบายเกี่ยวกับการเปล่งรังสีว่า รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปล่งออกมามีลักษณะเป็นกลุ่มๆ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ เรียกว่า ควอนตัม (quantum) ขนาดของควอนตัมขึ้นกับความถี่ของรังสี และแต่ละควอนตัมมีพลังงาน (E) โดยที่ E เป็นปฏิภาคโดยตรงกับความถี่ (u) ดังนี้

                                                                                E=hν
    E = พลังงาน 1 ควอนตัมแสง(J)
    h = ค่าคงที่ของพลังค์ (6.62x10-34 Js)
    ν= ค่าความถี่ ( s-1)
 5.แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก 

         แบบจำลองอะตอมของโบร์ ใช้อธิบายเกี่ยวกับเส้นสเปกตรัมของธาตุไฮโดรเจนได้ดีแต่ ไม่สามารถอธิบายเส้นสเปกตรัมของอะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอนได้จึงได้มีการศึกษาเพิ่มเติมจนได้แบบจำลองใหม่ที่เรียกว่าแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก 


ตารางธาตุ
ตารางธาตุ  หมายถึง  ตารางที่นักวิทยาศาสตร์จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมธาตุต่าง ๆ เอาไว้ด้วยกันให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการศึกษา  ก่อนมาเป็นตารางธาตุในปัจจุบัน ตารางธาตุได้มีวิวัฒนาการแบบต่างๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น